การอบรม ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น และ ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
หลักสูตรการฝึกอบรมลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น
ชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงหรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน
(๒) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
ชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน (4 ผู้) แผนการฝึกอบรม Click
(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น
ชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน
(๔) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
ชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน (4 ผู้) แผนการฝึกอบรม Click
(๕) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น
ชนิดเคลื่อนที่
(๖) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
ชนิดเคลื่อนที่ (4 ผู้) แผนการฝึกอบรม Click
(๗) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
(๘) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
(๙) หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
สมัครอบรม Click
จัดอบรมถูกต้องตามกฎหมาย โดยภาคปฏิบัติมีการฝึกและสอบกับเครนของจริง !!!
ตาม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น (ฉบับลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๗ ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ (Click)
ตารางการอบรม |
||
---|---|---|
หลักสูตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น | วันที่อบรม | ค่าลงทะเบียน (ไม่รวม Vat 7%) |
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงหรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน(๒) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน(4 ผู้) |
17 – 19 ก.พ. 2568(เปิดรับสมัคร)
26 – 28 ก.พ. 2568(เปิดรับสมัคร)
|
4,900 บาท
|
(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน(๔) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน (4 ผู้)(๕) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่(๖) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (4 ผู้)(๗) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ(๘) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นรายละเอียด
สมัครอบรม Click |
17 – 19 ก.พ. 2568(เปิดรับสมัคร)
26 – 28 ก.พ. 2568(เปิดรับสมัคร)
|
5,500 บาท |
หลักสูตร ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น | วันที่อบรม | ค่าลงทะเบียน (ไม่รวม Vat 7%) |
หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น |
10 ก.พ. 2568 (เปิดรับสมัคร)
|
2,500 บาท
|
หลักสูตร Rigging Slinging | วันที่อบรม | ค่าลงทะเบียน (ไม่รวม Vat 7%) |
Rigging Slinging and Banksman (For PTTEP)รายละเอียด |
27 – 29 ม.ค. 2568(เปิดรับสมัคร)
17 – 19 ก.พ. 2568(เปิดรับสมัคร) 26 – 28 ก.พ. 2568(เปิดรับสมัคร) |
5,900 บาท |
หลักสูตร Rigging Slinging Refresh | วันที่อบรม | ค่าลงทะเบียน (ไม่รวม Vat 7%) |
Rigging Slinging and Banksman Refresh (For PTTEP) |
22 ม.ค. 2568 (เปิดรับสมัคร) 10 ก.พ. 2568 (เปิดรับสมัคร)
|
2,900 บาท |
อัตราค่าลงทะเบียน (ไม่รวม Vat 7%)
หลักสูตร | 1-5 ท่าน | 6-10 ท่าน | 11-20 ท่าน |
ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงหรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ |
4,900 บาท |
4,700 บาท |
4,500 บาท |
ปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ |
5,500 บาท |
5,200 บาท |
5,000 บาท |
หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น |
2,500 บาท | 2,300 บาท | 2,000 บาท |
แผนการฝึกอบรม
หลักสูตร “การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น” 2567 Click
สมัครอบรม Click
ดาวน์โหลดใบสมัคร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ขอใบเสนอราคา
ติดต่อเจ้าหน้าที่
โทรศัพท์ 094-4167373
หรือ เพิ่มเพื่อน (Add Line) โดยเบอร์โทรศัพท์ 0944167373
E-mail: admin@seac.co.th
ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น (เครน) หรือผู้ที่จะต้องทำงานกับปั้นจั่นในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างอันตรายมีความเสี่ยงสูงและมีระบบการทำงานของปั้นจั่น (เครน) ที่หลากหลายรูปแบบการทำงาน เช่น การบังคับปั้นจั่น การผูกมัด การยกเคลื่อนย้ายวัสดุ การใช้สัญญาณมือ การอ่านค่าตารางพิกัดการยก การเลือกใช้และการตรวจสอบอุปกรณ์การยก การประเมินน้ำหนักสิ่งของ วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย รวมถึงระบบเครื่องยนต์ดีเซลระบบไฮดรอลิกเบื้องต้น คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา ระบบทั้งหลายนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานต่อไป
SE&C มุ่งมั่นที่จะฝึกอบรมให้แก่ผู้สนใจทุกท่าน เพื่อนำเทคนิคและความรู้ที่ถูกถ่ายทอดจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นสามัญวิศวกรเครื่องกล โดยมีความรู้ทั้งทางด้านวิศวกรรม กฎหมาย อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เป็นผู้บรรยายและฝึกปฏิบัติจริงตามประเภทของปั้นจั่น เช่น รถปั้นจั่น รถเฮี้ยบ ปั้นจั่นหอสูง ปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง เรือปั้นจั่น
ทำไมต้องเลือกใช้บริการของ SE&C ?
จุดเด่นของเราคือ “วิทยากรหรือผู้สอน” มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นทุกชนิดที่กล่าวมาและสามารถสอนเชิงลึกในการคำนวณโดยหลักวิศวกรรมประยุกต์เพื่อการทำงานการผลิต งานกก่อสร้าง งานด้านความปลอดภัยและวิศวกรรม โดย อาจารย์ วรเศรษฐ์ ชลศิริพงษ์ รวมถึง “คู่มือฝึกอบรม” ที่ไม่เหมือนใคร ทำการแปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย เพราะปั้นจั่น (เครน) ส่วนใหญ่มีคู่มือการใช้งานเป็นภาษาอังกฤษ ท่านได้นำมาแปลและเชื่อมโยงกับหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานรวมถึงข้อบังคับตามกฎหมายไทยไว้ในเล่มเดียว (ลิขสิทธิ์ที่นี่ที่เดียว) จุดเด่นที่สำคัญของเราอีกอย่างคือ “ความน่าเชื่อถือในการจัดฝึกอบรม” ยืนยันว่าสามารถจัดฝึกอบรมได้ทุกรุ่นตามแผนที่ประกาศ
เนื้อหาหลักสูตร ครอบคลุมประเด็นและเรื่องที่สำคัญ ซึ่งผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นจะต้องรู้
-
การทำแผนการยก (Lifting Plan)
-
ความรู้เรื่อง Load Chart
-
การหาขนาดแผ่นรองขาเครน และ ปัจจัยที่มีผลต่อการทรุดตัวของขาเครน
-
การคำนวณหาค่าแรงดึงในสลิง
-
การหาจุดศูนย์ถ่วง
-
ฯ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น
ข้อ ๗๒ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงานของปั้นจั่น การป้องกันอันตรายจากปั้นจั่น รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของปั้นจั่น รวมทั้งการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นแต่ละประเภท โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นแต่ละประเภท ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น (ฉบับลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๗ ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗)
มีสาระสำคัญคือ
นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ๔ ลักษณะดังต่อไปนี้ผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด คือ
1. ผู้บังคับปั้นจั่น
2. ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น
3. ผู้ยึดเกาะวัสดุ
4. ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นเข้าข่ายลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้
ไม่จำเป็นจะต้องครบทั้ง 4 ลักษณะ (บางที่ใช้คำว่า 4 ผู้ ในกฎหมายไม่มีคำว่า 4 ผู้ และกฎหมายไม่ได้บังคับให้ลูกจ้างต้องปฏิบัติงานได้ทั้ง 4 ผู้ จะ 1 ผู้ 2 ผู้ 3 ผู้ ก็ได้ ตามลักษณะงานที่ลูกจ้างผู้นั้้นๆได้ทำอยู่หรือปฏิบัติได้จริง เช่น ผู้บังคับปั้นจั่นจะต้องมีความสามารถขับเครนได้ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น โดยเฉพาะรถปั้นจั่น ควรจะต้องเป็นหัวหน้างานจะต้องสามารถทำแผนการยกได้)
- ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการอบรม วัน เวลา พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา
- จะต้องมีการอบรมทบทวนทุกๆ ๒ ปี โดยอบรมให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ก่อนครบกำหนด 2 ปี หรือ เมื่อมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับปั้นจั่น ให้อบรมทบทวนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ
- ผู้จัดจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. แจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการจัดอบรม
2. จัดให้ผู้เข้าได้รับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด
3. จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยกว่า ๖๐ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4. ออกใบรับรองให้ผู้ผ่านการอบรม (ในการออกใบรับรองนั้น ให้ออกให้เฉพาะผู้ผ่าน อันหมายถึง สอบผ่านตามเกณฑ์เท่านั้น)
6. กฎหมายกำหนดเรื่องจำนวนคนผู้เข้าอบรมภาคทฤษฎีไว้ห้องละไม่เกิน ๖๐ คนต่อวิทยากรอย่างน้อย ๑ คน หมายความว่า ผู้จัดไม่สามารถจัดอบรมภาคทฤษฎีเกินกว่า ๖๐ คนในแต่ละครั้ง แม้จะมีวิทยากรมากกว่า ๑ คนก็ตาม
ในการทดสอบภาคปฏิบัติกำหนดให้ต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย ๑ คนและปั้นจั่น ๑ เครื่องต่อผู้เข้ารับการอบรมไม่เกิน ๒๐ คน สำหรับกรณีนี้ถ้ามีผู้เข้ารับการอบรมมากกว่า ๒๐ คน ก็ต้องเพิ่มวิทยากรและปั้นจั่นตามจำนวนผู้เข้าอบรมทุกๆไม่เกิน ๒๐ คน และต้องทดสอบในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเสมือนสถานที่จริง
7. กฎหมายกำหนดรายละเอียดเนื้อหาวิชาในแต่หลักสูตร และ หลักสูตรไว้ ๙ หลักสูตรดังนี้
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงหรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน
(๒) หลักสตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน
(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน
(๔) หลักสตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ประเภทปั้นจั่นหอสูง หรือปั้นจั่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน
(๕) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
(๖) หลักสตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
(๗) หลักสตรการฝึกอบรมผู้ไห้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
(๘) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
(๙) หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
หลักสูตรพิเศษ!!!
หลักสูตร การจัดทำแผนการยก (Lifting Plan) สำหรับผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่น
ความหมายตามกฎกระทรวงฯ ปี 2564
“ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการใช้ หรือสั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม ตลอดจนพิจารณาน้ำหนักที่จะทำการยกและจัดทำแผนการยก
กฎหมายได้กำหนดงานที่จะต้องทำโดยผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นไว้ 2 ประการคือ
1.การวางแผนการยก
2.การคำนวณแรงรับน้ำหนักของอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยง
ข้อ ๘๕ แผนการยกตามข้อ ๘๔ ต้องจัดทำโดยผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่นซึ่งผ่านการอบรมตามข้อ ๗๒ โดยต้องทำเป็นหนังสือและอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น
(๒) ตารางการยกวัสดุสิ่งของ
(๓) รายละเอียดของปั้นจั่น ได้แก่ รัศมีการยกและความยาวของแขนปั้นจั่นที่ใช้ยกขณะทำการยกวัสดุสิ่งของ
(๔) รายละเอียดของอุปกรณ์ประกอบการยกและลักษณะการยึดเกาะวัสดุสิ่งของ
(๕) ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุสิ่งของที่ทำการยก เช่น ขนาด น้ำหนัก ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วง โดยระบุอัตราส่วนของน้ำหนักที่ยกต่อความสามารถในการยก
(๖) ความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นที่รองรับปั้นจั่น
(๗) ขนาดพื้นที่ของแผ่นรองขารับน้ำหนักของปั้นจั่น
(๘) ขั้นตอนการยกที่กำหนดมาตรการความปลอดภัยและวิธีการป้องกันอันตราย
นายจ้างต้องปิดประกาศแผนการยกไว้ในบริเวณที่ทำงานให้เห็นได้ชัดเจน และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ข้อ ๘๔ การทำงานเกี่ยวกับรถปั้นจั่นที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการจัดทำแผนการยก และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามแผนการยกนั้น เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
(๑) การใช้ปั้นจั่นตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปในการยกวัสดุสิ่งของ
(๒) การยกวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ ๗๕ ของพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามตารางการยกสิ่งของตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ ๕๖
(๓) การทำงานของปั้นจั่นใกล้สายไฟฟ้าที่มีระยะน้อยกว่าระยะที่กำหนดในข้อ ๖๘
(๔) การยกวัสดุสิ่งของที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของจุดศูนย์ถ่วงของวัสดุสิ่งของที่ทำการยก
(๕) การยกวัสดุสิ่งของที่อาจเกิดการระเบิดหรืออุบัติภัยร้ายแรง
(๖) การยกวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักตั้งแต่ ๒๕ ตันขึ้นไป
ข้อ ๙๑ ในการยกเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุสิ่งของ โดยมีมุมองศาระหว่างอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงกับวัสดุที่จะทำการยกไม่น้อยกว่า ๔๕ องศา
กรณีที่มีความจำเป็นต้องทำการผูก มัด หรือยึดโยงด้วยมุมองศาที่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง นายจ้างต้องกำหนดให้มีการคำนวณแรงรับน้ำหนักของอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยโดยผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
“ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นตามความต้องการ
การอบรม คนขับเครน ผู้บังคับเครน Crane Operator หรือ ผู้บังคับปั้นจั่นตามกฎหมาย (กฎกระทรวงฯ ปี 2552 และประกาศกรมฯ ปี 2554)
มี 2 หลักสูตร โดยแยกตามชนิดของปั้นจั่น
1. หลักสูตร ผู้บังคับปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น
(ผู้บังคับ Overhead Crane, Gantry Crane)
2. หลักสูตร ผู้บังคับปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น
(คนขับ รถเครนทุกชนิด Mobile Crane รถเฮี๊ยบ Tower Crane เครนเรือ)
“ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณสื่อสารชนิดอื่นกับผู้บังคับปั้นจั่น
(Signal man, Banksman,ผู้ให้สัญญาณเครน)
ความหมายตามกฎกระทรวงฯ ปี 2564
“ผู้ยึดเกาะวัสดุ” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่ผูก มัด หรือเกี่ยววัสดุที่ใช้ปั้นจั่นยก
Down Load
- กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น (ฉบับลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๗ ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗)
- ประกาศกรมสวัสดิ์การและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น (ฉบับลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๗ ประกาศในราชกิจจาฯวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗)
- ประกาศกรมสวัสดิ์การและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น (ลงวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๖๕ ประกาศในราชกิจจฯ ๙ ธ.ค. ๒๕๖๕)
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (2563) ออกตามความใน พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
- บทความเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทรุดของขาค้ำยันรถปั้นจั่นล้อยาง ชนิดบูมไฮดรอลิก” (A Study of Factor effect to Ground Penetration Hydraulic Mobile Crane’s Outriggers) โดย นาย วรเศรษฐ์ ชลศิริพงษ์ และ รศ.รอ.พิพัฒน์ สอนวงษ์
- แบบฟอร์มการจัดทำแผนการยก (Lifting Plan)
- Mobile Crane Hand Signals Poster (ASME B30.5)
- Overhead Crane Hand Signals Poster (ASME B30.2)
- Tower Crane Hand Signals Poster (ASME B30.3)