ตรวจสอบและทดสอบปั้นจั่น เครน

หน้าหลัก / ตรวจสอบและทดสอบปั้นจั่น เครน

ตรวจเครนหรือตรวจและทดสอบปั้นจั่น โดยนิติบุคคลได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11 และ วิศวกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9

บริการทดสอบปั้นจั่น เครน

โดยนิติบุคคลได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11

และ วิศวกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9

     บริการตรวจเครน ตรวจสอบและทดสอบปั้นจั่น รถปั้นจั่น รถเครน (Mobile Crane, Crawler Crane) รถเฮี๊ยบ(Hiab) ปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง (Overhead Crane, Gantry Crane, Hoist)  พร้อมออกหนังสือรับรอง ปจ.1 ปจ.2 โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล  ตาม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร  จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ และ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น (ประกาศในราชกิจจาฯ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๕)

Load Test รถเฮี๊ยบ Hiab
ปั้นจั่นเหนือศีรษะ Overhead Crane
ปั้นจั่นหอสูง Tower Crane
รถเครน Mobile Crane

การทดสอบปั้นจั่น (การตรวจเครน)

       กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ  พ.ศ. ๒๕๖๔

“ เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิดพลังงานเปลี่ยนสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ แสงอาทิตย์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล

“ปั้นจั่น” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ 

“การตรวจสอบ” หมายความว่า การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อน้ำความร้อน ภาชนะรับความดัน หรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

“การทดสอบ” หมายความว่า การตรวจสอบ ทดลอง และรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือกลไกการทำงานของอุปกรณ์เพื่อความถูกต้องและปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แล้วแต่กรณี

วิศวกร” หมายความว่า  ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๒๑ ให้วิศวกรตามกฎกระทรวงนี้ป็นผู้ทดสอบการดำเนินการตามข้อ ๔๕ ข้อ ๕๔ข้อ ๕๕ ข้อ ๕๗ ข้อ ๕๘ ข้อ ๖๓ ข้อ ๑๐๕ ข้อ ๑๐๗ ข้อ ๑๐๙ ข้อ ๑๑๐ ข้อ ๑๑๑ข้อ ๑๑๓ และข้อ ๑๑๔ จนกว่าจะได้มีบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี

*มีบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2565

กฎหมายบัญญัติให้ต้องทดสอบปั้นจั่นดังนี้

ข้อ ๕๗ นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบการติดตั้งปั้นจั่นเมื่อติดตั้งเสร็จตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ ๕๖ ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

  ในกรณีที่มีการหยุดใช้งานปั้นจั่นตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ก่อนนำปั้นจั่นมาใช้งานใหม่ นายจ้างต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งด้วย

   สำหรับกรณีนี้เป็นกรณีที่เป็นการติดตั้งปั้นจั่นเท่านั้น เช่น ปั้นจั่นเหนือศีรษะซึ่งติดตั้งในโรงงานก็ทดสอบหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว และที่พบได้บ่อยก็คือ  ปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane)  การติดตั้งปั้นจั่นบนรถบรรทุก(Hiab) 

ข้อ ๕๘ นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามประเภทและลักษณะของงาน ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ ๕๖ ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๖๓ นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดของปั้นจั่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างที่มีผลต่อการรับน้ำหนัก หรือยินยอมให้ลูกจ้างหรือผู้อื่นกระทำการเช่นว่านั้น เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้มีการคำนวณทางวิศวกรรมพร้อมกับจัดให้มีการทดสอบ และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

 เฉพาะ ปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) และ เดอริก (Derrick) ที่ใช้ในงานก่อสร้างมี กฎกระทรวงฉบับที่67  ออกตามความใน พรบ.ควบคุมอาคารฯ พ.ศ. 2522 เกี่ยวกับการติดตั้ง รื้อถอน การตรวจสอบ 

วิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น

 ตาม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบการทดสอบปั้นจั่น (ประกาศในราชกิจจาฯ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๕)

1.ความถี่ในการตรวจเครนหรือทดสอบปั้นจั่น (ตรวจทุกๆกี่เดือน หรือ กี่เดือนตรวจครั้ง) ?
กฎหมายได้กำหนดควาามถี่ในการตรวจเครนหรือทดสอบปั้นจั่น เป็นระยะเวลาที่แน่นอน คือตรวจทุกๆ 3 เดือน หรือ ทุกๆ 6 เดือน หรือ ปีละครั้ง โดย พิจารณาตามประเภทและลักษณะงาน ซึ่งแยกเป็น ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้างและปั้นจั่นที่ใช้งานอื่นๆ  และ ตามขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด 

ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
ปั้นจั่นที่ใช้งานอื่นๆ
ตารางการทดสอบปั้นจั่น
การทดสอบการรับน้ำหนัก (Load Test)

การทดสอบการรับน้ำหนัก

(ก) ปั้นจั่นใหม่
       1) ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่าของพิกัดยกอย่างปลอดภัย
      2) ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 5 ตันจากขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัย

(ข) ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว

     ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุดแต่ไม่มเกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด

รายงานการตรวจเครน(ทดสอบปั้นจั่น) ประกอบไปด้วย

1.เอกสารข้อมูลการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่น (ปจ.1, ปจ.2) 
         ซึ่งเป็นแบบฟอร์ม ถูกบังคับโดยกฎหมาย สำหรับการทดสอบปั้นจั่น  (ไม่ได้ใช้ทดสอบเครื่องจักรชนิดอื่นๆ เช่น ลิฟต์, Forklift,เครื่องตอกเสาเข็ม เป็นต้น) 2.ภาพถ่ายวิศวกรขณะทดสอบ
      กฎหมายมุ่งเน้นที่จะให้วิศวกรไปทดสอบด้วยตนเอง จึงต้องมีภาพถ่ายขณะทดสอบเป็นหลักฐาน ดังนั้นหากสถานประกอบการใดต้องการตรวจเครนราคาถูก และหากวิศวกรไม่ได้ไปตรวจด้วยตนเองก็จถือว่าไม่ถูกต้องและอาจมีปัญหาได้
3.สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.)
    
     สำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกลนั้น ต้องดูข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วย หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล 

สรุปโดยย่อสำหรับการทดสอบปั้นจั่น ดังนี้คือ
1. วิศวกรเครื่องกลระดับสามัญวิศวกร และ ระดับวุฒิวิศวกร สามารถตรวจสอบได้ทุกขนาดโดยไม่มีการจำกัดขนาดกำลังของเครื่องจักร
2.วิศวกรเครื่องกลระดับภาคีวิศวกร  สามารถตรวจสอบโดยมีการจำกัดขนาดกำลังงานเครื่องจักรรวมไม่เกิน 100 KW. ต่อเครื่อง
3. วิศวกรเครื่องกลระดับวิศวกรพิเศษ  สามารถตรวจสอบได้เฉพาะประเภทและขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น 

4.สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือ สำเนาเอกสารใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑

ตัวอย่างใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว)
ตัวอย่างภาพถ่ายวิศวกรขณะทดสอบ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ขอใบเสนอราคา
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
โทร       02-0665168
มือถือ     094-4167373
E-mail: admin@seac.co.th