(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 6 สิงหาคม 2564)
การตรวจสอบ หมายความว่า การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ภาชนะรับความดัน หรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน
การทดสอบ หมายความว่า การตรวจสอบ ทดลอง และรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือกลไกการทำงานอุปกรณ์เพื่อความถูกต้องและปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แล้วแต่กรณี
รถยก หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์(Forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน
หมวด ๑ เครื่องจักร
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
ข้อ ๙ นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานกับเครื่องจักรตรวจสอบเครื่องจักรนั้นให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งาน โดยเครื่องจักรดังต่อไปนี้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบประจำปี
(๑) เครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและงานขนย้าย ได้แก่ รถยก ระบบสายพานลำเลียง
ฯ
ส่วนที่ 4 รถยก
ข้อ 34 ในการทำงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
( 1) การที่มีโครงหลังคาของรถยกที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกหล่นได้ เว้นแต่รถยกที่ออกแบบมาให้ยกวัสดุสิ่งของที่มีความสูงไม่เกินศีรษะของผู้ขับขี่
( 2) จะให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 8 ไว้ที่รถยก พร้อมทั้งติดตั้งป้ายเตือนให้ระวัง
(3) ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง จะต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
( 4) อันที่มีสัญญาณเสียงหรือแสงเตือนภัยในขณะทำงานตาม ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
(5) การที่มีอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นตามสภาพในการทำงาน เช่น กระจกมองข้าง
( 6) ให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับรถยกชนิดนั่งขับสวมใส่เข็มขัดนิรภัยในขณะทำงานบนรถตลอดเวลา
ข้อ 35 นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือกระทำการใดขับรถยกที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานลดลง เว้นแต่กรณีที่นายจ้างดัดแปลงรถยกเพื่อใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว
ข้อ 36 นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยกที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการระบายอากาศเพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหยของไฮโดรเจนการประจุไฟฟ้า
ข้อ 38 นายจ้างต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติรายการไว้ที่บริเวณทางแยกทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า
ข้อ 39 นายจ้างต้องจัดทางเดินรถยกให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย
ข้อ 40 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้รถยกแต่ละประเภท ปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยก โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับรถยก ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ 41 นายจ้างต้องควบคุมดูแลการนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า โดยต้องมีระยะห่างเพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไม่เกิน 69 kv ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.1 เมตร
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันเกิน 69 kv แต่ไม่เกิน 115 kv ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.3 เมตร
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันเกิน 115 kv แต่ไม่เกิน 230 kvต้องห่างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันเกิน 230 kv แต่ไม่เกิน 500 kvต้องห่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
ข้อ 42 นายจ้างต้องควบคุมดูแลไม่ให้ผู้อื่นนอกจากผู้ขับรถยกโดยสารขึ้นไปบนส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นเชื้อเพลิง ปี พ.ศ. 2545
ข้อ ๗ การติดตั้งอุปกรณ์และส่วนควบของระบบก๊าซต้องได้รับการตรวจทดสอบรับรอง อย่างน้อยปีละครั้ง โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือผู้ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ







