หลักสูตร การจัดทำแผนการยก (Lifting Plan)
สำหรับผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่น
ในการทำงานยกสิ่งของโดยใช้รถเครนหรือรถปั้นจั่นนั้นเป็นงานที่ค่อนข้างอันตรายและมีความเสี่ยงสูง ซึ่งผู้ปฏิบัติงานนั้นนอกจากต้องมีประสบการณ์ในการทำงานแล้วยังต้องมีความรู้ความเข้าอย่างถูกต้องอีกด้วย การจัดทำแผนการยกเป็นสิ่งที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้การทำงานนั้นลดความผิดพลาด ลดความเสี่ยง และการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่จะทำแผนการยกได้ดีจะต้องมีประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้แผนการยกจะต้องจัดทำโดย ผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่นที่ผ่านการอบรม หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่น ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดทำแผนการยกได้ โดยเนื้อหาครอบคลุมตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
หลักสูตรได้จัดทำขึ้นจากประสบการณ์การทำงาน การศึกษาค้นคว้า และการสอน หลักสูตรผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่นมากว่า 10 ปี และได้มีการจัดทำและพัฒนาโปรแกรมสำหรับช่วยในการคำนวณ เช่น การคำนวณหาแรงดึงสลิง การคำนวณ Share of Load การคำนวณหาขนาดแผ่นรองรับน้ำหนักที่ขาปั้นจั่น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ ลดข้อผิดพลาด ทำงานได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เป็นการลดข้อจำกัดและช่วยให้ผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่นที่ไม่ได้เป็นวิศวกรหรือไม่ถนัดเรื่องการคำนวณ สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ วิศวกร ซุปเปอร์ไวเซอร์ โฟร์แมน หัวหน้างาน จป. หรือผู้ควบคุมงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่น ที่มีประสบการณ์ในการทำงานยกสิ่งของโดยใช้รถปั้นจั่น และผ่านการอบรมผู้ควบคุมการใช้รถุปั้นจั่นมาแล้ว
บทบาทและหน้าที่ของผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
“ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการใช้ หรือสั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฏิบัติตาม ตลอดจนพิจารณาน้ำหนักที่จะทำการยกและจัดทำแผนการยก
ข้อ ๘๔ การทำงานเกี่ยวกับรถปั้นจั่นที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการจัดทำแผนการยก และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามแผนการยกนั้น เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
(๑) การใช้ปั้นจั่นตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปในการยกวัสดุสิ่งของ
(๒) การยกวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ ๗๕ ของพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามตารางการยกสิ่งของตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ ๕๖
(๓) การทำงานของปั้นจั่นใกล้สายไฟฟ้าที่มีระยะน้อยกว่าระยะที่กำหนดในข้อ ๖๘
(๔) การยกวัสดุสิ่งของที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของจุดศูนย์ถ่วงของวัสดุสิ่งของที่ทำการยก
(๕) การยกวัสดุสิ่งของที่อาจเกิดการระเบิดหรืออุบัติภัยร้ายแรง
(๖) การยกวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักตั้งแต่ ๒๕ ตันขึ้นไป
ข้อ ๘๕ แผนการยกตามข้อ ๘๔ ต้องจัดทำโดยผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่นซึ่งผ่านการอบรมตามข้อ ๗๒ โดยต้องทำเป็นหนังสือและอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น
(๒) ตารางการยกวัสดุสิ่งของ
(๓) รายละเอียดของปั้นจั่น ได้แก่ รัศมีการยกและความยาวของแขนปั้นจั่นที่ใช้ยกขณะทำการยกวัสดุสิ่งของ
(๔) รายละเอียดของอุปกรณ์ประกอบการยกและลักษณะการยึดเกาะวัสดุสิ่งของ
(๕) ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุสิ่งของที่ทำการยก เช่น ขนาด น้ำหนัก ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วง โดยระบุอัตราส่วนของน้ำหนักที่ยกต่อความสามารถในการยก
(๖) ความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นที่รองรับปั้นจั่น
(๗) ขนาดพื้นที่ของแผ่นรองขารับน้ำหนักของปั้นจั่น
(๘) ขั้นตอนการยกที่กำหนดมาตรการความปลอดภัยและวิธีการป้องกันอันตราย
นายจ้างต้องปิดประกาศแผนการยกไว้ในบริเวณที่ทำงานให้เห็นได้ชัดเจน และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ข้อ ๙๑ ในการยกเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุสิ่งของ โดยมีมุมองศาระหว่างอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงกับวัสดุที่จะทำการยกไม่น้อยกว่า ๔๕ องศา
กรณีที่มีความจำเป็นต้องทำการผูก มัด หรือยึดโยงด้วยมุมองศาที่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง นายจ้างต้องกำหนดให้มีการคำนวณแรงรับน้ำหนักของอุปกรณ์สำหรับการผูก มัด หรือยึดโยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยโดยผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
รายละเอียดหลักสูตร
1. บทบาทและหน้าที่ของผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
2. คณิตศาสตร์ และ หลักวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
3. การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
4. การหาจุดศูนย์ถ่วงของวัตถุ (Center of Gravity)
5. อุปกรณ์สำหรับผูกมัดหรือยึดเกาะวัสดุ (Lifting Gear)
6. วิธีผูกมัด ยึดเกาะวัสดุ (Rigging Arrangement)
7. Lifting Stability Control
8. การคำนวณ แรงดึงในสลิง แบบ 2 ขา ,3 ขา, 4 ขา (มี Program ช่วยคำนวณให้)
9. Using of Spreader Beams and Equalizer Beams
10. Principle of Crane Operation
11. Crane Specification and Load Chart & Factor Affecting Crane Capacity
12. Dual Lifts or Tandem Lifting (Share of Load & Share of Load Change During lift) (มี Program ช่วยคำนวณให้)
13.ความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นที่รองับปั้นจกั่นและการหาขนาดแผ่นรองรับน้ำหนักที่ขาเครน (มี Program ช่วยคำนวณให้)
14. การจัดทำแผนการยก (Lifting Plan) และขั้นตอนการยกที่กำหนดมาตรการความปลอดภัยและวิธีป้องกันอันตราย (มี File แบบฟอร์มให้)
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. เป็นผู้ควบคุมการใช้รถปั้นจั่น และเคยผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น หรือ เป็น จป.วิชาชีพ หรือ วิศวกร หรือ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
2. มีความสามารถในการใช้ Program Excel และมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3. ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจึงจะเข้าอบรมได้
Down load ไฟล์รายละเอียดหลักสูตร Click
หมายเหตุ
สำหรับผู้ที่เข้ารับการอบรมและสามารถทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์การประเมิน จะได้รับใบประกาศฯ จาก SE&C
สำหรับผู้ที่เข้ารับการอบรมแต่ทำแบบทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จะได้รับหนังสือรับรองว่า ได้เข้ารับการอบรม เท่านั้น
กำหนดการอบรม 2 วัน (รอกำหนดวัน สำหรับรุ่นต่อไป)
ค่าอบรมเพียงท่านละ 6,000 บาท เท่านั้น (รวมค่า Program สำหรับช่วยคำนวณ แล้ว)
ราคาพิเศษสำหรับผู้ที่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น กับ SE&C โปรดสอบถาม
จำกัดจำนวนเพียง 10 ท่าน เท่านั้น
สอนโดย อ.วรเศรษฐ์ ชลศิริพงษ์ (สามัญวิศวกร เครื่องกล)
อบรม ณ ศูนย์ฝึกอบรม SE&C
เลขที่ 333/248 หมู่ที่ 2 ซอยกิ่งแก้ว14/1 ถนนกิ่งแก้ว
ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
สมัครอบรม clik
Down load ไฟล์รายละเอียดหลักสูตร Click
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ขอใบเสนอราคา
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
มือถือ 094-4167373
E-mail: admin@seac.co.th
Down Load
1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 6 สิงหาคม 2564 มีผลบังคับวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564)
2. บทความเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทรุดของขาค้ำยันรถปั้นจั่นล้อยาง ชนิดบูมไฮดรอลิก” (A Study of Factor effect to Ground Penetration Hydraulic Mobile Crane’s Outriggers) โดย นาย วรเศรษฐ์ ชลศิริพงษ์ และ รศ.รอ.พิพัฒน์ สอนวงษ์
3. แบบฟอร์มการจัดทำแผนการยก (Lifting Plan)