ตรวจสอบและทดสอบ ลิฟต์ (ลิฟท์) Passenger Lift,Material Lift,Elevator

หน้าหลัก / ตรวจสอบและทดสอบ ลิฟต์ (ลิฟท์) Passenger Lift,Material Lift,Elevator

ตรวจสอบและทดสอบ ลิฟต์ (ลิฟท์)

โดยนิติบุคคลได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 11

และ วิศวกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9


Passenger Lift,Material Lift,Elevator

การตรวจสอบและทดสอบลิฟต์(ลิฟท์)

ลิฟต์โดยสาร (Elevator, Passenger Lift)
ลิฟต์ขนส่งวัสดุ (Material Lift)

กฎหมายกำหนดให้ต้องตรวจสอบและทดสอบลิฟต์ดังนี้

1.ตรวจสอบความพร้อมของลิฟต์ทุกวัน หากส่วนใดชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน และต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

2. ตรวจสอบระบบความปลอดภัยและระบบการทำงานของลิฟต์เป็นประจำทุกเดือน และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบ ไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

3.ทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของลิฟต์หลังจากติดตั้ง และเมื่อมีการใช้งาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ทั้งนี้ การทดสอบการรับน้ำหนักของลิฟต์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ ของน้ำหนักการใช้งานสูงสุดที่ผู้ผลิตกำหนด ปิดประกาศผลการทดสอบ ไว้ในห้องลิฟต์ให้เห็นได้ชัดเจนแล้วต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อสังเกตุ

การทดสอบลิฟต์ ตามกฎหมายผู้ให้บริการการทดสอบจะต้องเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามาตรา 11

        ดังนั้นการทดสอบลิฟต์ประจำปี จึงต้องใช้ฯ ม.9 หรือ ม.11  

         การตรวจสอบลิฟต์ประจำเดือน กฎหมายกำหนดให้ต้องมีเอกสารการทดสอบ จึงต้องใช้ฯ ม.9 หรือ ม.11  (กำหนดให้ตรวจสอบ แต่ เอกสาร เป็นทดสอบ )

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔)

การตรวจสอบ หมายความว่า การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ภาชนะรับความดัน หรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

การทดสอบ หมายความว่า การตรวจสอบ ทดลอง และรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือกลไกการทำงานอุปกรณ์เพื่อความถูกต้องและปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙  หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑  แล้วแต่กรณี

“วิศวกร” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร

ลิฟต์โดยสาร หมายความว่า เครื่องจักรใช้สำหรับบุคคลโดยสารหรือขนส่งสิ่งของขึ้นลงระหว่างชั้นต่างๆของอาคาร ยานพาหนะ หรือโครงสร้างอื่น

ลิฟต์ขนส่งวัสดุ หมายความว่า เครื่องจักรใช้เฉพาะขนส่งวัสดุสิ่งของขึ้นลงระหว่างชั้นต่างๆของอาคาร ยานพาหนะ หรือโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช้สำหรับบุคคลโดยสาร

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๑๒๑ ให้วิศวกรตามกฎกระทรวงนี้เป็นผู้ทดสอบการดำเนินการตามข้อ ๔๕ ข้อ ๕๔ข้อ ๕๕ ข้อ ๕๗ ข้อ ๕๘ ข้อ ๖๓ ข้อ ๑๐๕ ข้อ ๑๐๗ ข้อ ๑๐๙ ข้อ ๑๑๐ ข้อ ๑๑๑ข้อ ๑๑๓ และข้อ ๑๑๔ จนกว่าจะได้มีบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี

ส่วนที่ ๕

ลิฟต์

ข้อ ๔๓  ในกรณีที่มีลิฟต์โดยสาร นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) ติดตั้งลิฟต์ไว้ในที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

(๒) จัดให้มีการตรวจสอบความพร้อมของลิฟต์ทุกวัน หากส่วนใดชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน และต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

(๓) จัดให้มีมาตรการป้องกันอันตราย และติดป้ายห้ามใช้ลิฟต์ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องเห็นได้ชัดเจนในระหว่างที่มีการทดสอบ ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาลิฟต์

(๔) จัดให้มีระบบสัญญาณเตือน และมีอุปกรณ์ตัดระบบการทำงานของลิฟต์ เมื่อมีการใช้ลิฟต์บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนด

(๕) จัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้ลิฟต์เคลื่อนที่ ในกรณีที่ประตูลิฟต์ยังไม่ปิด

(๖) จัดทำคำแนะนำและวิธีการใช้ลิฟต์ การขอความช่วยเหลือติดไว้ในห้องลิฟต์

(๗) จัดให้มีระบบการติดต่อกับภายนอกห้องลิฟต์และสัญญาณแจ้งเหตุขัดข้อง

(๘) จัดทำคำแนะนำและวิธีการให้ความช่วยเหลือติดไว้ในห้องเครื่องต้นกำลัง และห้องผู้ดูแลลิฟต์

(๙) จัดทำข้อห้ามใช้ลิฟต์ ติดไว้ที่ข้างประตูลิฟต์ด้านนอกทุกชั้น

(๑๐) จัดทำป้ายบอกพิกัดน้ำหนักและจำนวนคนโดยสารได้อย่างปลอดภัยติดตั้งไว้ในห้องลิฟต์

(๑๑) จัดให้มีระบบไฟส่องสว่างและระบบระบายอากาศที่เพียงพอภายในห้องลิฟต์ ในขณะใช้งานปกติและกรณีฉุกเฉิน

ข้อ ๔๔ ในกรณีที่มีลิฟต์ขนส่งวัสดุ นายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อ ๔๓ (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) และจัดทำป้ายบอกพิกัดน้ำหนักวัสดุสิ่งของที่บรรทุกได้อย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด และป้ายห้ามโดยสาร ติดไว้ในจุดที่เห็นได้ชัดเจนภายในห้องลิฟต์และนอกประตูลิฟต์ทุกชั้น รวมทั้งกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการดูแลวัสดุที่ขนส่งเพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุเคลื่อนที่และมาตรการป้องกันการติดขัดของห้องลิฟต์

ข้อ ๔๕ นายจ้างต้องจัดให้มีการทดสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของลิฟต์หลังจากติดตั้ง และเมื่อมีการใช้งาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ทั้งนี้ การทดสอบการรับน้ำหนักของลิฟต์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ ของน้ำหนักการใช้งานสูงสุดที่ผู้ผลิตกำหนด

ให้นายจ้างปิดประกาศผลการทดสอบที่อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดประกอบด้วย วัน เดือน ปี ที่มีการทดสอบ วัน เดือน ปี ที่การรับรองหมดอายุ รายชื่อผู้ทดสอบไว้ในห้องลิฟต์ให้เห็นได้ชัดเจนแล้วต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๔๖ นายจ้างต้องตรวจสอบระบบความปลอดภัยและระบบการทำงานของลิฟต์เป็นประจำทุกเดือน และต้องมีสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ ๔๗ นายจ้างต้องจัดให้ลวดสลิงที่ ใช้สำหรับลิฟต์ขนส่งวัสดุมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๕  ในกรณีใช้โซ่ต้องมีความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๔  และลวดสลิงที่ใช้สำหรับลิฟต์โดยสารมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๑๐

ข้อ  ๔๘ นายจ้างต้องไม่ใช้ลวดสลิงที่มีลักษณะตามข้อ ๘๖  กับลิฟต์

สอบถามราละเอียดเพิ่มเติม
ขอใบเสนอราคา การตรวจลิฟต์

โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
โทรศัพท์ 02-0665168
มือถือ     094-4167373
E-mail: admin@seac.co.th